Tuesday, November 9, 2010

ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงยาวนานในอดีต


ถ้าเราจะพูดถึง เอี๊ยะแซ และ ออน ล๊อก หยุ่นแล้ว คอกาแฟวัยเก๋าน้อยคนนักที่จะส่ายหน้าที่ไม่รู้จัก เพราะประวัติการที่เปิดบริการที่ยาวนานกว่า 80 ปี รับใช้ความสุข ของคนไทยและคนจีนมาแล้วหลายชั่วอายุคน

คำว่าเอี๊ยะแซ เป็นภาษาจีนไหหลำ ซึ่งกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่อง และทักษะการชงกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้กำเนิดตำนานเอี๊ยะแซคือ นายจิ้งเหลี่ยน แซ่อุ่ย ชาวจีนโพ้นทะเลจากเกาะไหลหลำ ที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 ขยับขยายกิจการจากสร้างสัมมาชีพจากหลงจู๊โรงเลื่อยมาเปิดรถขายกาแฟสาขาแรกอยู่ที่บริเวณย่านเยาวราช ด้วยชื่อที่คุ่นเคย “กาแฟโกเหลี่ยน” ด้วยเทคนิคการคั่วที่เป็นแบบฉบับแบบไหหลำแท้ ด้วยสแกน “คั่วสดๆชงใหม่ๆทุกวัน” จนกระทั่งการเข้ามาสืบทอดกิจการของทายาทรุ่นที่ 1 จึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น ร้านเอี๊ยะแซ พร้อมได้ขยายกิจการจากร้านรถเข็นมาสู่ตึกที่โอ่โถง

ศัพท์ที่ใช้เรียกเมนูกาแฟโบราณที่คุ้นหูประกอบคำว่า”โอยั๊วะ” ถ้าสั่งเมนูคุณจะได้กาแฟร้อนๆ ที่ไม่ได้ใส่นม แต่ถ้าหากว่าอยากที่จะเพิ่มความหวานกลมกล่อมละก็ ให้สั่ง”โกปี๊” ถ้าเป็นกาแฟเย็นละก็ ก็ต้องสั่ง”โอเลี้ยง” คือเมนูยอดฮิต ที่เป็นส่วนผสมของกาแฟกับน้ำตาลทรายเต็มความเย็นสดขื่นด้วยน้ำแข็ง แต่ถ้าสนใจ”ยกล้อ” ก็เพียงเติมนมลงไปนิดหน่อย ในบรรดาเมนูน่าสนใจ”โอยั๊วะ โกปี้ และโอเลี้ยง เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว ส่วยยกล้อกลับเป็นภาจีนไหหลำ เข้าใจว่าน่าเป็นส่วนผสมอันลงตัวของจีนแต้จิ๋ว และไหหลำก็น่าจะมาจากลูกค้าส่วนใหญ่จากร้านเอี๊ยะแซ จะเป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่อาศัยอยู่บริเวณเยาวราช และสำเพ็ง ส่วนเจ้าของร้านจะเป็นชาวไหหลำ

เมล็ดกาแฟของที่ ร้านเอี๊ยะแซ นั้นจะใช้เฉพาะโรบัสต้าเท่านั้น แม้ว่าอาราบีกาจะมีความหอมมากกว่า แต่ในแง่ของความเข้มข้นโรบัสต้ามีชั้นเชิงที่ดีกว่า ทั้งนี้เพราะว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเอี๊ยะแซจะเป็นกรรมกรที่ทำงานอยู่ที่ท่าเรือ คนลากรถเจ๊ก ซึ่งจะต้องใช้พละกำลังมาก ต้องตื่นตาตลอดวัน โอยั๊วะ โกปี่ โอเลี้ยงยกล้อของเอี๊ยะแซก็มีส่วนส่วนให้การทำงานหนักตลอดทั่งวันของพวกเขากระชุ่มกระชวยขึ้นมาได้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าที่คุ้นตาที่ร้านเอี๊ยะแซ ตอนใกล้ยามรุ่งตี 3 ตี4 จะแน่นขนัดไปด้วยผู้คนที่แวะเวียนมาเพิ่มพลังด้วยกาแฟด้วยกาแฟแก้วโปรดเพื่อที่จะได้สู้กับงานหนักตลอดทั้งวัน

แม้ว่าทุกวันนี้จะมีร้านกาแฟสไตล์หรูๆ มีเมนูโมเดิร์นเปิดแข็งกันทุกมุมถนน และร้านค้า หนุ่มสาวยุคใหม่อาจจะเดินผ่านเลยร้านกาแฟโบราณ มุ่งหน้าเข้าหา เอสเพรสโซ่ หรือคาปูชิโน่ แต่ตำนานบทเก่าของร้านเอี๊ยะแซในฐานะผู้บุกเบิก และนำหน้ามาก่อนก็ยังไม่ได้ปิดกิจการลง ทุกวันนี้ร้านกาแฟรุ่นคุณปู่คุณย่าที่มีการปรับกลยุทธ์พัฒนาร้านเพื่อที่จะเอาใจคอกาแฟคนรุ่นใหม่ ด้วยการเปิดสาขาเข้าไปในแหล่งชุมชนที่มีคนทุกเพศทุกวัย เพิ่มเมนูเครื่องดื่ม และเครื่องเคียงให้หลากหลาย เพื่อที่จะยังคงสืบสานกลิ่นไอของกาแฟรูปแบบไทยให้ยังคงอบอวลอยู่ในความทรงจำของคนไทยไปอีกนานเท่านาน

คงไม่น่าแปลกใจหาจะบอกว่า จุดนัดพบของวัยรุ่นสมัยโก๋หลังวังจะเป็นที่ร้านกาแฟ หากถ้าเราลองหลับตาจินตนาการภาพวันเก่าความคึกคักของร้านกาแฟที่มีคนหนุ่ม คนสาวแต่งกายนำสมัย(โน่น) มาสังสรรค์เฮฮา ล้อมวงดื่มกาแฟ ไมโล และขนมนมเนย แน่นนอนว่าจากในจินตนาการของความทรงจำนั้นจะต้องปรากฏมีร้านกาแฟชื่อว่า ออน ล๊อก หยุ่น ขวัญใจของวัยโจ๋ หนุ่มโก๋หลังวังอยู่ด้วยเป็นแน่นอนกว่า 70 ปีมาแล้วที่ร้านกาแฟที่มีชื่อเกไก๋เปิดบริการเติมความสุขให้แก่คนไทย เอกลักษณ์ของ ออน ล๊อก หยุ่น คือการใช้กาแฟสำเร็จรุปที่วางจำหน่ายตามร้านฝรั่ง ห้างจีน แต่จากวิทยายุทธ์กาชงกาแฟของ นายเอ่งซิว ซีลี่ ผู้ก่อตั้งก้เป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้าไม่ด้อยไปกว่ากาแฟสูตรใดๆเลย

ที่มาของ ออน ล๊อก หยุ่น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน และสงสัยกันอยู่ จากป้ายร้านที่เป็นภาษาจีนออกเสียงได้ว่า “อัก หลัก ฮื้อ” มีความหมายว่า “สวนสนุก” แล้วเหตุไฉนจึงเพี้ยนออกมาเป็น ออน ล๊อก หยุ่น ได้เล่า คำถามอันนี้ยังไม่มีใครสามารถที่จะตอบได้แม้แต่ทายาทมี่สืบทอดกิจการมา

สำหรับสภากาแฟออน ล๊อก หยุ่น จะประกอบไปด้วยคนทุกเพสทุกวัยแต่ที่จะมีมากหน่อยก็น่าจะเป้นรุ่นคนที่มีผมสีดอกเลา ที่จะมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์จิบกาแฟ ถกเถียงปัญหาเรื่องการเมือง และเศรษฐกิจ หากจะเป็นวัยรุ่น วัยคุณหนูน้อย ที่นี้ก็มีบริการไมโลร้อน เสิร์ฟพร้อมไข่ดาว ไส้กรอก ขนมปังทาเนยน้ำตาล อิ่มหนำสำราญกันได้ทั่วหน้า

จริงอยู่ที่ความหลังมีไว้ให้จดจำ ทบทวนระลึกถึง แต่สำหรับออน ล๊อก หยุ่น โต๊ะเก้าอี้ทุกตัว ถ้วยชามทุกใบ กาแฟทุกช้อน น้ำตาลทุกเม็ด ที่ผ่านการรับใช้ความสุขของคอกาแฟไทยนับจากวันนั้นยืนยาวมาจนวันนี้ หากจะเปรียบเทียบเป็นสถาบัน ออน ล๊อก หยุ่น ก็คงจะผลิตลูกศิษย์ลูกหามาแล้วหลายสิบรุ่น ทุกวันนี้อาจจะมีบ้างที่ห่างหายไปด้วยเหตุผลนานาประการ แต่สถาบันแห่งนี้ก็คงอยู่อย่างสง่างาม เพื่อที่จะดำรงไว้ด้วยเจตนารมณ์ที่สืบสานกันมาแต่เก่าก่อนนั่นก็คือ แต่งเติมสีสัน และความสุขจากทุกแก้วกาแฟ สู่ทุกหัวใจของคนไทยให้ยาวนานยั่งยืนตลอดไป ครับก็คงจะบอกเล่าแง่มุมอะไรเพิ่มมากขึ้นบ้างนะครับ.

Monday, November 8, 2010

กาแฟ และร้านกาแฟไทย


วันนี้เราว่ากันเรื่องร้านกาแฟ ร้านแรกของไทยกันเลยดีกว่านะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราย้อนไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2460 ตึกหลังหนึ่งตั้งอยู่หน้าบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ได้เปิดร้านกาแฟโดย มิสเตอร์มีสโคล ชาวอเมริกันที่มาตั้งถิ่นฐานบนผื่นแผ่นดินไทย มีชื่อร้านว่า”Rea Cross Tea Room” คำว่า Red Cross มาจากสัญญาลักษณ์ของสภากาชาด ส่วน Tea Room ถึงแม้จะแปลว่าห้องชา แต่ก็มีกาแฟให้บริการด้วย

ลูกค้าขาประจำจะทราบดีว่า Red Cross Tea Room จะเปิดบริการเฉพาะวันพฤหัสบดี เวลา 15.00-18.00น แขกส่วนใหญ่จเป็นเจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ชาวต่างประเทศที่มีรสนิยม และหลงใหลในกลิ่นไอของรสกาแฟ และชา ผลกำไรจากการขายกาแฟ นายมีสโคลได้ส่งมอบเพื่อที่จะเป็นสาธารณะประโยชน์แก่องค์การกาชาดของฝ่ายสัมพันธมิตร ว่าแล้วก็ทำให้เหมือนว่ากินกาแฟช่วยชาติ

นับจากนั้นมาความนิยมในการดื่มกาแฟ และร้านกาแฟที่มีเพิ่มมากขึ้นจากนักเรียนไทยที่ไปศึกษายังต่างประเทศ และได้นำเอาวัฒนธรรมการดื่มน้ำดำชนิดนี้กลับมาด้วย

ก่อนที่คนไทยจะรู้จักชื่อ และรสชาติอันเข้มข้นของเอสเพรสโซ่ หรือละเอียดกับฟองครีมของคาปูชิโน หากเราจะย้อนหลังไปในยุคก่อนเก่าในสมัยของอากง อาม่า ยังเป็นหนุ่มสาววัยแรกรุ่น เครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนวัยนั้นคงจะไม่พ้น โอเลี้ยง โอยั๊วะ หรือยกล้อ หรือบัญญัติที่เรียกกันร่วมๆว่า กาแฟโบราณ ซึ่งได้รับความนิยมจากคนไทย ไม่น้อยหน้าฝรั่งมั่งค่า หรือพวกอาหรับทะเลทราย

อาจจะมาเสียงไอกระแอมจากคนอีกฝั่งของโลกว่า กาแฟของเรานั้นไม่ต่างจากน้ำดำๆ จากสารพัดพืชที่เอามาคั่วมาผสมปนเปกัน ทั่ง มะพร้าว มะขาม ถั่ว กาแฟ ยิ่งไปกว่านั้นว่ากันว่า สูตรกาแฟสมัยสงครามโลกนั้น เป็นการผสมน้ำมะขามคั่วเติมรสนุ่มๆ ด้วยกะทิ มันจะน่าอร่อยตรงไหน

แต่มันก็มิได้ทำให้การดื่มกาแฟของคนไทย ลดน้อยถอยลงไปกว่าเพื่อนบ้านฝั่งไหนๆเลย หากจะวัดกันที่วัตถุดิบ และขบวนการผลิต เราก็อาจจะเป็นรองในแง่ของการเป็นต้นตำหรับ และก็ความหรูหรามีระดับ แต่ในเรื่องของการสร้างสรรค์ หรือการสนองความต้องการของผู้ดื่ม โอเลี้ยงของเราก็สามารถที่จะผงาดยืนบนแป้นขนะเลิศ ชนะใจของคนไทยมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อสมัยก่อน ภาพที่คุ่นๆ ตาที่พ่อบ้านแม่บ้านหิ้วถุงโอเลี้ยง โอยั๊วะ กาแฟเย็น เกี่ยวกับนิ้วห้อยต่องแต่งไปมา พักเหนื่อยพักร้อนก่อนกายก็ดูดให้คลายร้อน รสชาติกำชาบไปถึงกระเพาะ ด้านลูกเด็กเล็กแดงก็มักจะถูกใช้ให้หิ้วกระติก กระป๋อง ให้วิ่งไปซื้อกาแฟกับอาโกที่หน้าปากซอย พอขากลับพอเหนื่อยก็แอบๆ ดูดกาแฟในกระติกแก้เหนื่อยบ้าง

กาแฟโบราณผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย ไม่ต่างอะไรกับกาแฟร้อนที่ต้องคู่กับปาท่องโก๋ ลองคิดหลับตานึกภาพยามเช้าในตลาด หรือที่หน้าปากซอยบ้าน จะแออัดไปด้วยคอกาแฟพันธ์แท้ รุ่นเก๋าๆ มานั่งจิบกาแฟกันก่อนไก่จะโห่พระอาทิตย์จะขึ้น พระจะมาบิณฑบาตเสียอีก เมื่อวงกาแฟครบคน ความบันเทิงแม้จะไม่เทียบเท่ากับวงสุรา แต่รับประกันว่าบทสนทนานั้นเต็มเปี่ยวไปด้วยอรรถรส จนเกิดเป็นนิยามที่เรียกขานกันว่า”สภากาแฟ” สภากาแฟสมัยนั้น คงคึกคัก และเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มาบอกเล่าสู่กันฟังกันตั้งแต่หัวรุ่ง ไม่ต่างกับรายการคุยข่าวยามเช้าที่กำลังนิยมกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ไล่กันไปตั้งแต่เรื่องการเมือง การมุ้ง เรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว รำลึกถึงความหลัง และสังสรรค์เฮฮาตามประสาคนคอเดียวกัน สภากาแฟก็ไม่ต่างอะไรจากแหล่งข่างกรองของหมู่บ้าน ที่ใครอยากจะรู้อะไรก็ให้มาถาม ใครอยากฝากอะไรก็ให้มาร่วมวงไพบูลย์ครับวันนี้ก็คงจะพอสมควรแล้วละครับไว้มาวันกันใหม่คราวหน้านะครับ

Sunday, November 7, 2010

ชื่อเรียกกาแฟ และประวัติความเป็นมาของกาแฟไทย


วันนี้กลับมาเจอกันอีก เพื่อมาพูดคุยกันอีกนะครับ คราวที่แล้วผมได้พูดถึงส่วนประกอบ และสรรพคุณของเมล็ดกาแฟไปแล้วนะครับ มาคราวนี้จะมาพูดถึงเรื่องชนิดของกาแฟกันดีกว่านะครับ ถ้าจะว่าไปแล้วนะครับกาแฟนี้มีหลายชนิดหลายสายพันธ์มากมาย จนบอกกล่าวกันไม่หวาดไม่ไหวหรอก ทั่วโลกนะมีกาแฟอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่เรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ทีปลูก บ้างที่ก็ตามสายพันธ์ แต่กาแฟที่ได้รับความนิยมจากนักดื่มกาแฟส่วนใหญ่นะ มีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธ์ใหญ่ๆ อันได้แก่ โรบัสต้า (Robusta) อาราบีกา(Arabica) และก็ ไลเบริกา(Liberica)

โดย โรบัสต้านะ จะเป็นสายพันธ์ที่ทนทานต่อโรค ปลูกง่าย และยังให้ผลิตต่อไรสูง จะมีคาเฟอีน 2% มักที่จะนิยมนำไปทำกาแฟสำเร็จรูป หรือนำเอาไปผสมพันธ์กับสายพันธ์อื่นๆ

ด้าน อาราบีกานั้นจัดได้ว่าเป็นสายพันธ์ที่ดีที่สุด แต่ทว่าจะปลูกยาก และดูแลรักษายากสักหน่อย จะต้องมีพื้นที่ปลูกบนพื้นที่สูงๆเท่านั้น มีคาเฟอีน 1% ผลผลิตต่อต้นจะมีจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของกาแฟ โรบัสต้า คงประมาณการกันว่า ร้อยละ75 ของกาแฟที่ทำการซื้อขายกันอยู่ในตลาดโลก จะเป็นกาแฟพันธ์ อาราบีก้า

ส่วนไลเบริกานั้นมาจากแอฟริกา จะปลูกง่ายเหมือนกับโรบัสต้า คงมีระดับคุณภาพประมาณเทียบเท่ากับโรบัสต้า ครับมารู้ที่มาที่ไปแล้ว กาแฟที่เรียกว่า Bleand นั่นนะก็คือ กาแฟที่ได้รับการปรุงด้วยสูตรพิเศษ โดยการผสมกาแฟจากสายพันธ์ต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดคุณสมบัติพิเศษ ด้านรส กลิ่น ที่ต่างกันออกไป การคลุกเค้ากาแฟจากแหล่งต่างๆ กัน ก็เพื่อจะให้ได้รสชาติที่แตกต่างกัน

กาแฟนะเป็นภาษาสากลที่คนทุกชาติรู้จักกันดี คนอังกฤษ และอเมริกัน เรียกว่า Coffee, คนจีนเรียก Kafie , คนกัมพูชา เรียก Cafe ส่วนคนอิรักจะเรียกว่า Qahwa แต่สำหรับคนไทนนั้นจะเรียกขานว่า กาแฟ กันอย่างคุ้นปากมากที่สุด แต่คุณรู้ไหมว่าก่อนที่จะมาของคำว่ากาแฟน นั้นนะ เรารู้จักเจ้าน้ำสีดำ รสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอมเย้ายวนด้วยชื่ออะไร คำตอบคือ “ข้าวแฟ่” หรือ “เข้าแฟ่” ที่ฟังดูก็อาจจะไม่เข้าหูสักเท่าไร และดูจะไม่น่าจะอร่อยสักเท่าไร ไม่เหมือนคำเรียก ข้าวเหนียว ข้าวสวย ข้าวหมาก แต่จากการบันทึกทางประวิติศาสตร์ของไทยได้มีกล่าวไว้ว่า ชาวสยาม หรือชาวไทยนะได้มีการดื่มกาแฟมาตั้งแต่สมัยอยุธยากันแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏหลักฐานการเข้ามาในราชธานีระบุวัน เวลา และสถานที่อย่างเด่นชัด แต่จากจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ได้มีการบักทึกไว้ว่า พวกชาวแขกมัวร์ เป็นชนชาติที่นิยมชมชอบกาแฟมาก

ที่มาของคำว่า กาแฟ่ นั้นก็มากจากการที่คนเราเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Coffee และจากหนังสือ สัพพะวัจนะ ฉบับปีพุทธศักราชที่ 2397 ที่จัดพิมพ์ โดย นายปาลเลอกัวล์(Pallegoix) ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 คนไทยเรียก “กาแฟ” ว่า “กาแฟ่”

แล้วต่อมาเมื่อครั้งที่ หมอบรัดเลย์ รวบรวมข้อมูลเพื่อทำหนังสือ”อักขราภิธารศรับท์” ก็ยังได้บรรจุเรียกขานกาแฟในยุคนั้นว่า “กาแฝ่”ความนิยมในการดื่มกาแฟของคนไทยนั้น แม้จะยังไม่แพร่หลายเท่ากับการดื่มชา นั่นก็อาจจะเพราะว่ากาแฟเป็นสีดำๆ มีรสขมกว่า และนั่นอาจจะเริ่มมาจากสังคมของพวกขุนนางข้าราชการที่เป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงไทยสมัยนั้นคงจะไม่นิยมนัก แต่อาจจะขอหางกาแฟเติมลงในน้ำหวาน หรือเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เพื่อที่จะเพิ่มสีสัน และรสชาติแบบขมปะแล่มๆ ทำให้เครื่องดื่มมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ส่วนหลักฐานที่ชัดเจน และพอที่จะอธิบายได้เค้าร่างของประวัติศาสตร์การเริ่มดื่มกาแฟ หรือข้าวแฟ่ อย่างเป็นจริงเป็นจังในสยามก็คงจะเมื่อปี พ.ศ. 2377 แผ่นดินของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงต้นรัตนโกสินทร์ ปรากฏว่าพระองค์ได้ทรงมีพระดำริให้ข้าราชการบริพารฝ่ายในทดลองปลูก และทำสวนกาแฟจำนวน 5000 ต้นแล้วได้ทรงกะเกณฑ์ชายหนุ่ม หรือเริ่มทำอุปกรณ์จากเปลือกมะพร้าวคล้ายกับกระถาง แล้วจึงบรรจุต้นกล้าแจกให้กับสวนของหลวงคือ บริเวณวัดราชประดิษฐ์สถิตสีมาราม และสวนของข้าราชการบริพารรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย และในหมายยังรับสั่งให้เจ้าภาษีจัดน้ำรินถวายแด่พระสงฆ์ โปรดให้ตระเตรียมน้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย และข้าวแฟ่ไว้ด้วย สันนิษฐานว่าวิธีการชงอาจจะใช้วิธีการต้มลงในหม้อ แล้วจึงกรองเอากากกาแออกเหมื่อนกับการชงชา เป็นรูปแบบที่เรียกกันว่า”กาแฟโบราณ” หรือ”โอยั้วะ”เวลาจะปรุงรสก็เติมน้ำตาลทรายกรวด หรือน้ำตาลทรายเพื่อที่จะเพิ่มรสชาติให้หวานหอมอร่อย

และเมื่อครั้งที่ท่านเซอร์ จอหน์ เบาวริ่ง ราชทูตจากสหราชอาณาจักรเข้าทำการเจรจาค้าขาย และทำสนธิสัญญาเบาวริ่งกับไทย เมื่อ พ.ศ.2398 ก็ยังทรงได้มีบันทึกไว้ว่า ได้เดินทางไปเที่ยวสวนกาแฟของสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ที่ทางฝั่งธนบุรี และยังได้มอบเมล็ดกาแฟจำนวน 3 กระสอบเป็นของกำนัลแด่ท่านทูตในการเดินทางกลับประเทศด้วย เอาละครับวันนี้ก็พอจะได้อะไรเพิ่มขึ้นมาอีกนะครับสำหรับเจ้าเรื่องกาแฟนี้ วันนี้ก็เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

Saturday, November 6, 2010

เวลาสาระ กับเม็ดกาแฟ.


สวัสดีครับวันนี้ผมเพิ่งจะทำบล็อกนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะได้มาพูดคุยสนทนาบอกเล่าอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล๊อคนี้ ที่ผมตั้งชื่อบล็อกว่า Coffee94buzz นะท่านอาจจะคิดว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง กาแฟ หรือธุรกิจกาแฟ ก็ใช้ครับแต่ไม่เน้นด้านกาแฟอย่างเดียว แต่อันจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราว และสาระต่างบ้าง ก็คงเปรียบเสมื่อนผมนั่งจิบกาแฟแล้วมานั่งสนทนาบอกเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านได้รับรู้กันนะครับ ที่พร่ำพูดมาซะยืดยาว หรือบ่นไว้พอสมควรแล้วนะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะครับ ทางที่ดีเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า เมื่อตั้งชื่อมาทางด้านของ กาแฟแล้วเรามาเริ่มต้นรับรู้สาระเกี่ยวกับกาแฟกันสักหน่อยดีกว่านะ เอางั้นเริ่มต้นที่เมล็ดกาแฟก่อนดีกว่านะครับ

ในปัจจุบันนี้เราจะพบเห็นได้ว่า กาแฟนี้จะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำเรามากขึ้น ดังจะเห็นได้จากร้านกาแฟที่มีอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเดินตามถนน ตามตรอก ซอกซอย หรือแม้กระทั่งตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไปที่เราได้พบได้เห็น หรือบางที่บางท่านอาจจะไปได้สัมผัสกับบรรยากาศ หรือดื่มดำกับรสกาแฟตามร้านกาแฟดังอย่างเช่น Starbucks, World Coffee,94 Cofffee หรือจะตามร้านกาแฟไทยตามปั๊มน้ำมัน หรือตามแหล่งชุมชนต่าง แม้แต่แผงขายกาแฟข้างทางเดินก็ตาม ก็คงจะแล้วแต่รสนิยมความชอบของแต่ละทันละครับ และช่วงนี้นะเป็นช่วงที่อากาศกำลังเริ่มเย็นสบายมาบ้างแบบนี้ บางท่านก็กำลังนึกถึงกาแฟร้อนๆสักแก้วมาช่วยคลายหนาวให้สบายใจ หรืออบอุ่นกายขึ้นบ้าง เอาละครับเรามาว่ากันเกี่ยวกับเจ้าคำว่า กาแฟคำนี้กันก่อนดีกว่านะครับ ว่ามันมีที่มาที่ไปพอสมควรนะ งั้นเรามาเริ่มรู้จักที่มาที่ไปของคำว่ากาแฟกันก่อนดีกว่านะ

คำว่ากาแฟชื่อทางวิชาการทางพฤกษศาสตร์นะ เขาเรียกว่า Coffee Arabica L. วงศ์ RUBICA CEAE ถ้าเป็นชื่อสามัญละก็ Arabian Coffee, Arabica coffee, Common Coffee ถ้าออกไปเป็นด้านความหมาย หรือว่าคำแปล ถ้าจาก Oxford dictionary ให้ความหมายว่า Coffee :noun The roasted seeds (coffee bean) of a tropical bush. A power made from them. ถ้าเอาทางด้านภาษาไทยก็ต้องนี้เลยครับ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 เขาให้ความหมายว่า กาแฟ เป็น นาม เป็นชื่อไม้พุ่มหลายขนาด ในสกุล coffee วงศ์ Rubiaceqe ครับผม กาแฟเป็นพืชมาจากแถบทวีปแอฟฟริกา ใช้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เม็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้สำหรับชงเป็นเครื่องดื่ม ในเม็ดกาแฟนะยังมีสารเคมีอยู่ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า คาเฟอีน เป็นไงครับที่มาทีไปของคำว่า กาแฟนะพอจะทำเราได้ความรู้ หรือปวดหัวเพิ่ม หรือเปล่าเอาเป็นว่าเรารู้ไว้ใช้ว่าใส่บ่าแบกหามดีกว่านะครับ เมื่อเรารู้ความหมายของเจ้าคำว่า กาแฟแล้ว ที่นี้เรามารู้จักว่าในเจ้าเม็ดกาแฟ กลมๆรีๆ ออกสีน้ำตาลไหม้นี้นะมันมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้างดีกว่านะ

ว่ากันว่ากาแฟเป็นสารที่ให้สารออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท(Psychotropic Plants) เอ้แล้วเราจะพบสารเหล่านี้ได้ที่ไหนในต้นกาแฟกันได้ละ เอาเริ่มที่ใบกาแฟก่อน ใบกาแฟนะจะมีคาเฟอีน อยู่ประมาณนะ 1-1.25 % แล้วก็ที่เปลือกผลชั้นนอกนะจะมีคาเฟอีน, กรด Mallice, Mannite และน้ำตาล แต่ถ้าในเมล็ดละก็จะมี คาเฟอีน 0.72-2.43%, กรด Gallic, กรด Citric, โปรตีน, กลูโคส, กรด Coffee-lannic และก็มีน้ำมันหอมละเหยต่างๆ

ที่นี้เรามาลองดูสรรพคุณทางยากันบ้างนะ ใช้ในการกระตุ่นระบบประสาทส่วนกลาง แก้ง่วงนอน ในบ้างคนนะอาจจะทำให้ถึงกับนอนไม่หลับได้ กระตุ่นระบบหายใจ ช่วยการทำงานของกระเพาะอาหารและไต ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และในระดับความเข้มข้นหนึ่ง ๆ ยังจะสามารถช่วยล้างฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ได้ครับเอาละครับได้อะไรจากเจ้ากาแฟพอสมควรแล้วละครับ

ที่นี้ผมคิดนะว่ากันทุกท่านอาจจะรู้ หรือยังไม่รู้ความหมาย เวลาที่เขาพูดจาสนทนาภาษากาแฟนะ บ้างที่เราอาจจะได้ยินศัพท์แสงแปลกๆบ่อยๆ แท้ที่จริงแล้วนะมันมีความอะไรบ้างนะ เอาละมาว่าเริ่มกันที่คำว่า Body : เนื้อกาแฟ,

Aroma : กลิ่นหอมระเหยของกาแฟ ที่เราจะได้ยินกันบ่อยๆ ก็มี กลิ่น floral, fruity, chocolaty, caramelly

Roast : การคั่วกาแฟ ที่จะมีความเข้มข้นตั้งแต่ Right roast, Mediun roast,Dark roast, Darkest roast.

Bland : รสจัดของกาแฟ เพราะจะถูกเก็บเกี่ยวตอนที่ยังไม่แก่เต็มที่

Acidity : รสเปรี้ยวของกาแฟที่จะไม่เหมื่อนรสเปรียวของมะนาว หรือผลไม้อื่นๆ คือเปรี้ยวแบบเฉพาะของกาแฟเท่านั้น

Strong : ดีกรีความเข้มของรสชาติของกาแฟ

Tangy : รสเปรี้ยวออกแหลมของกาแฟ

Shot : ปริมาณของกาแฟ 1 shot = 2.5 onz. ออนซ์

Latte’ art : ศิลปะของการสร้างสรรค์ฟองนม

Barista : ผู้ชงกาแฟ หรือนักชงกาแฟ

ครับก็เอาเพียงแค่พอรู้บ้างก็พอนะครับ เอาไว้เผื่อได้ยินเขาสนทนาพาทีกันเวลาที่เราจิบกับเพื่อนฝูง หรือกับคนสนิทกัน ก็คงจะได้สัมผัสในกลิ่นไอของรสกาแฟ และรวมทั้งสาระเพิ่มมากขึ้นอีกครับ วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับเดี๋ยวคราวต่อไปจะมาบอกเล่าต่อเรื่องกาแฟนะครับ